ผิวหนังไม่ได้เป็นเพียงแค่เปลือกนอกของร่างกาย แต่ระบบผิวหนังยังเป็นเกราะป้องกันสำคัญที่ช่วยปกป้องเราจากมลภาวะ แบคทีเรีย และแสงแดด นอกจากนี้ ผิวยังมีบทบาทในการควบคุมอุณหภูมิและขับของเสียออกจากร่างกาย หากดูแลไม่ดี อาจทำให้ผิวแห้งเสีย หมองคล้ำ หรือเกิดริ้วรอยก่อนวัยได้! แล้วเราจะดูแลผิวให้แข็งแรงและมีสุขภาพดีได้อย่างไร ?
มาอ่านบทความนี้กัน! เราจะพาคุณไปรู้จักกับ เคล็ดลับการดูแลระบบผิวหนังให้แข็งแรง ไม่ว่าจะเป็น วิธีดูแลผิวในชีวิตประจำวัน หรือ เทคนิคการฟื้นฟูผิวด้วยหัตถการทางการแพทย์ เพื่อให้ผิวสวย เปล่งปลั่ง และดูอ่อนเยาว์อยู่เสมอ อย่ารอช้า! เพราะสุขภาพผิวที่ดีเริ่มต้นจากการดูแลที่ถูกต้อง
ทำความเข้าใจกับระบบผิวหนัง หมายถึงอะไร ?
ระบบผิวหนัง (Integumentary System) เป็นระบบที่ประกอบด้วยผิวหนังและโครงสร้างที่เกี่ยวข้อง เช่น เส้นผม เล็บ ต่อมเหงื่อ และต่อมไขมัน ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันร่างกายจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ป้องกันการสูญเสียน้ำ และทำหน้าที่เป็นด่านแรกของระบบภูมิคุ้มกันในการต่อต้านเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม ผิวหนังยังมีตัวรับความรู้สึกที่สามารถรับสัมผัส ความเจ็บปวด อุณหภูมิ และแรงกดดัน ช่วยให้ร่างกายสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบผิวหนังมีหน้าที่อะไร ?
ระบบผิวหนังมีหน้าที่อะไร มีหน้าเป็นเกราะป้องกันร่างกายจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น เชื้อโรค สารเคมี และรังสี UV โดยชั้นหนังกำพร้าจะทำหน้าที่เป็นปราการด่านแรก ป้องกันการสูญเสียน้ำและช่วยรักษาสมดุลความชุ่มชื้นของร่างกาย นอกจากนี้ ผิวหนังยังมีบทบาทในการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย โดยต่อมเหงื่อจะทำหน้าที่ขับเหงื่อออกมาเมื่ออุณหภูมิสูง เพื่อช่วยระบายความร้อน ขณะที่เส้นเลือดในชั้นหนังแท้จะหดตัวหรือขยายตัวเพื่อลดหรือเพิ่มการไหลเวียนของเลือดเพื่อรักษาอุณหภูมิที่เหมาะสม
นอกจากการป้องกันและควบคุมอุณหภูมิแล้ว ผิวหนังยังทำหน้าที่เป็นศูนย์รับความรู้สึก เช่น การสัมผัส แรงกด ความร้อน และความเย็น ผ่านปลายประสาทที่อยู่ในชั้นหนังแท้ อีกทั้งยังช่วยกำจัดของเสียบางส่วนผ่านทางเหงื่อ และมีบทบาทในการสังเคราะห์วิตามินดีเมื่อได้รับแสงแดด ผิวหนังยังช่วยซ่อมแซมตัวเองโดยการผลัดเซลล์และสร้างเนื้อเยื่อใหม่เมื่อเกิดบาดแผล ดังนั้น ผิวหนังจึงเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญต่อทั้งการปกป้องร่างกายและการทำงานของระบบต่างๆ
โครงสร้างระบบผิวหนังมีกี่ชั้น มีอะไรบ้าง ?
ระบบผิวหนังประกอบด้วย 3 ชั้นหลัก ได้แก่
ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า (Epidermis)
ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) เป็นชั้นนอกสุดของผิวหนัง ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันร่างกายจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น เชื้อโรค สารเคมี และรังสี UV ชั้นนี้ไม่มีเส้นเลือด และได้รับสารอาหารจากชั้นหนังแท้ (Dermis) ผ่านการแพร่กระจายของสารอาหาร และหนังกำพร้าจะมีการผลัดเซลล์ผิวอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เวลาประมาณ 28-40 วันต่อรอบการผลัดเซลล์ใหม่ ชั้นหนังกำพร้าประกอบด้วย 5 ชั้นย่อย (เรียงจากล่างขึ้นบน) ได้แก่
- Stratum basale (Basal layer) เป็นชั้นล่างสุด มีเซลล์ต้นกำเนิดของผิวหนังและเมลาโนไซต์ที่สร้างเม็ดสีเมลานิน
- Stratum spinosum (Prickle cell layer) มีเซลล์ที่เริ่มเปลี่ยนรูปร่างเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของผิว
- Stratum granulosum (Granular layer) เป็นชั้นที่เริ่มสร้างเคราตินและไขมัน เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ
- Stratum lucidum (Clear layer) พบเฉพาะบริเวณผิวหนังหนา เช่น ฝ่ามือและฝ่าเท้า
- Stratum corneum (Horny layer) เป็นชั้นนอกสุด ประกอบด้วยเซลล์ผิวที่ตายแล้วและเต็มไปด้วยเคราติน ทำหน้าที่ป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมและช่วยลดการสูญเสียน้ำ
ผิวหนังชั้นหนังแท้ (Dermis)
ผิวหนังชั้นหนังแท้ (Dermis) เป็นชั้นที่อยู่ถัดจากหนังกำพร้า (Epidermis) มีความหนามากกว่าหนังกำพร้าและมีโครงสร้างที่ซับซ้อน ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรง ยืดหยุ่น และคงความชุ่มชื้นของผิว ชั้นหนังแท้เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผิวมีความยืดหยุ่นและสุขภาพดี โครงสร้างของชั้นหนังแท้ประกอบด้วย 2 ชั้นย่อย ได้แก่
- ชั้นหนังแท้ส่วนบน (Papillary Layer) เป็นชั้นตื้นที่อยู่ติดกับหนังกำพร้า ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหลวมและเส้นเลือดฝอย ทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหารไปยังหนังกำพร้า และมีปลายประสาทรับความรู้สึก เช่น การสัมผัสและความเจ็บปวด
- ชั้นหนังแท้ส่วนล่าง (Reticular Layer) เป็นชั้นที่ลึกกว่า ประกอบด้วยคอลลาเจนและอีลาสติน ทำให้ผิวมีความยืดหยุ่นและทนต่อแรงกดดัน
องค์ประกอบสำคัญของชั้นหนังแท้
- คอลลาเจน (Collagen) ช่วยให้ผิวแข็งแรงและยืดหยุ่น
- อีลาสติน (Elastin) ทำให้ผิวยืดหยุ่นและคืนตัวได้
- เส้นเลือด (Blood Vessels) ช่วยลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปยังผิว
- ต่อมไขมัน (Sebaceous Glands) ผลิตน้ำมันเพื่อให้ผิวชุ่มชื้น
- ต่อมเหงื่อ (Sweat Glands) ช่วยขับเหงื่อเพื่อควบคุมอุณหภูมิร่างกาย
- เส้นประสาทรับความรู้สึก (Sensory Nerves) รับรู้ความรู้สึกสัมผัส อุณหภูมิ และความเจ็บปวด
ชั้นไขมัน (Subcutis)
ชั้นไขมัน (Subcutaneous Tissue หรือ Hypodermis) เป็นชั้นที่อยู่ลึกที่สุดของผิวหนัง อยู่ถัดจากชั้นหนังแท้ (Dermis) มีบทบาทสำคัญในการปกป้องร่างกายจากแรงกระแทก เก็บสะสมพลังงาน และรักษาอุณหภูมิของร่างกาย
โครงสร้างและหน้าที่ของชั้นไขมัน
- ประกอบด้วยเนื้อเยื่อไขมัน (Adipose Tissue) ทำหน้าที่สะสมพลังงานในรูปของไขมัน และช่วยรองรับแรงกระแทกให้กับอวัยวะภายใน
- มีเส้นเลือดและเส้นประสาทจำนวนมาก ช่วยลำเลียงสารอาหารและรับความรู้สึกจากผิวหนัง
- ทำหน้าที่เป็นฉนวนความร้อน ป้องกันการสูญเสียความร้อนจากร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถรักษาอุณหภูมิได้ดีขึ้น
- ช่วยให้ผิวหนังยืดหยุ่นและกระชับ รองรับโครงสร้างของผิวหนังชั้นบน ทำให้ผิวดูมีน้ำมีนวลและไม่หย่อนคล้อย
ความสำคัญของชั้นไขมัน
- ปริมาณไขมันในชั้นนี้แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม อายุ เพศ และวิถีชีวิต
- หากมีไขมันสะสมมากเกินไป อาจนำไปสู่ภาวะไขมันส่วนเกินหรือเซลลูไลท์
- หากไขมันน้อยเกินไป อาจทำให้ผิวดูบาง แห้ง และขาดความยืดหยุ่น
ระบบผิวหนังที่ดี แข็งแรง มีลักษณะอย่างไร ?
ระบบผิวหนังที่ดีและแข็งแรง ควรมีลักษณะดังนี้
- ความชุ่มชื้นและสมดุลน้ำมัน ผิวต้องมีความชุ่มชื้น ไม่แห้งลอกหรือมันเกินไป มีการผลิตน้ำมันจากต่อมไขมันในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อรักษาความชุ่มชื้นและป้องกันการระคายเคือง
- สีผิวสม่ำเสมอและกระจ่างใส ไม่มีจุดด่างดำ รอยแดง หรือสีผิวไม่สม่ำเสมอ ผิวดูสดใส ไม่หมองคล้ำ แสดงถึงสุขภาพผิวที่ดี
- ผิวเรียบเนียนและกระชับ ไม่มีความหยาบกร้าน รูขุมขนกระชับ ผิวดูอ่อนเยาว์ มีความยืดหยุ่นสูงและสามารถฟื้นตัวได้ดีเมื่อถูกยืดหรือกด
- ระบบไหลเวียนเลือดดี ผิวมีเลือดฝาดตามธรรมชาติ ไม่ซีดเซียวหรือดูไม่สดใส ระบบหมุนเวียนเลือดดี ทำให้ผิวได้รับออกซิเจนและสารอาหารอย่างเพียงพอ
- ความแข็งแรงของเกราะป้องกันผิว (Skin Barrier) มีเกราะป้องกันผิวที่แข็งแรง ไม่แพ้ง่ายหรือระคายเคืองง่าย สามารถป้องกันเชื้อโรคและมลภาวะได้ดี
- มีการผลัดเซลล์ผิวอย่างสมดุล ผิวผลัดเซลล์เก่าและสร้างเซลล์ใหม่อย่างเหมาะสม ไม่มีการสะสมของเซลล์ผิวที่ตายแล้วมากเกินไป ทำให้ผิวดูสดใส
พฤติกรรมที่ทำร้ายระบบผิวหนังเป็นอย่างไร ?
พฤติกรรมที่ทำร้ายต่อระบบผิวหนังและควรหลีกเลี่ยง มีดังนี้
- ไม่ทาครีมกันแดด การสัมผัสแสงแดดโดยไม่มีการป้องกัน อาจทำให้ผิวคล้ำเสีย เกิดฝ้า กระ และเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งผิวหนัง ควรใช้ครีมกันแดด SPF 30-50 ขึ้นไป และทาซ้ำทุก 2-3 ชั่วโมงเมื่อออกแดด
- นอนดึกและพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายผลิตคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด) มากขึ้น ส่งผลให้ผิวหมองคล้ำ แห้ง และเกิดริ้วรอยเร็วขึ้น ควรนอนหลับให้ได้ 6-8 ชั่วโมงต่อคืน
- ล้างหน้าแรงเกินไป หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่รุนแรง การขัดถูผิวแรง ๆ หรือใช้โฟมล้างหน้าที่มีสาร SLS มากเกินไป อาจทำลายเกราะป้องกันผิว (Skin Barrier) ทำให้ผิวแห้งและระคายเคืองง่าย ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนและเหมาะกับสภาพผิว
- ไม่ล้างเครื่องสำอางก่อนนอน การแต่งหน้าแล้วไม่ล้างออกจะทำให้รูขุมขนอุดตัน เกิดสิว และเร่งให้ผิวแก่ก่อนวัย ควรใช้คลีนซิ่งเช็ดเครื่องสำอางออกก่อนล้างหน้าทุกครั้ง
- สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป บุหรี่ทำลายคอลลาเจนและอีลาสติน ทำให้ผิวเหี่ยวย่นเร็ว แอลกอฮอล์ทำให้ผิวขาดน้ำ แห้งกร้าน และเกิดริ้วรอยง่าย
- ดื่มน้ำน้อยเกินไป ทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้น แห้งลอก และไม่กระจ่างใส ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้วต่อวันเพื่อให้ผิวอิ่มน้ำและสุขภาพดี
- เครียดสะสม ความเครียดกระตุ้นให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนที่ทำให้เกิดสิวและเร่งให้ผิวเสื่อมสภาพ ควรหาวิธีผ่อนคลาย เช่น ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่ชอบ
- รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อผิว อาหารมัน ของทอด น้ำตาลสูง และอาหารแปรรูปมากเกินไป ทำให้เกิดสิว ผิวหมองคล้ำ และแก่ก่อนวัย ควรเน้นรับประทานผัก ผลไม้ และอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
รู้หรือไม่ ? เมื่ออายุมากขึ้นผิวหนังจะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
เมื่ออายุมากขึ้น ระบบผิวหนังจะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เนื่องจากการเสื่อมสภาพของเซลล์ กระบวนการผลัดเซลล์ผิวที่ช้าลง และการลดลงของคอลลาเจนและอีลาสตินในผิวหนัง ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาผิวต่าง ๆ ได้แก่
- ผิวบางลงและสูญเสียความยืดหยุ่น ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) และชั้นหนังแท้ (Dermis) จะบางลง ทำให้ผิวดูบอบบางและเกิดริ้วรอยง่าย การผลิตคอลลาเจนและอีลาสตินลดลง ทำให้ผิวขาดความกระชับและเริ่มหย่อนคล้อย
- ผิวแห้งและขาดน้ำง่าย ต่อมไขมันผลิตน้ำมันลดลง ทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้นและแห้งกร้าน หากไม่บำรุงผิวอย่างเหมาะสม อาจเกิดอาการคันและลอกเป็นขุย
- เกิดริ้วรอยและร่องลึก ริ้วรอยตื้น ๆ อาจเริ่มปรากฏในวัย 30+ และจะลึกขึ้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น รอยตีนกา ร่องแก้ม และริ้วรอยบริเวณหน้าผากจะเห็นชัดเจนขึ้น
- ผิวคล้ำและสีผิวไม่สม่ำเสมอ เม็ดสีเมลานินทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดจุดด่างดำ ฝ้า กระ และรอยหมองคล้ำ กระบวนการผลัดเซลล์ผิวช้าลง ทำให้สีผิวไม่สม่ำเสมอ
- รูขุมขนกว้างขึ้น เมื่อผิวสูญเสียความยืดหยุ่น รูขุมขนอาจขยายกว้างขึ้นและเห็นชัดขึ้น
- ฟื้นตัวช้าลง แผลหายช้ากว่าเดิม เนื่องจากการไหลเวียนเลือดลดลง ผิวซ่อมแซมตัวเองช้าลง ทำให้เกิดรอยแผลเป็นและรอยดำจากสิวได้นานขึ้น
- ผิวหย่อนคล้อยและไขมันใต้ผิวลดลง ชั้นไขมันใต้ผิวหนังลดลง ทำให้ผิวหน้าดูตอบ ไม่เต่งตึงเหมือนเดิม โครงสร้างผิวเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ผิวหนังบริเวณแก้ม คาง และคอเริ่มหย่อนคล้อย
วิธีดูแลระบบผิวหนังให้แข็งแรง ด้วยตัวเอง
การดูแลผิวให้แข็งแรงไม่เพียงช่วยให้ผิวดูสุขภาพดี แต่ยังช่วยป้องกันริ้วรอยและปัญหาผิวต่าง ๆ ได้อีกด้วย คุณสามารถดูแลระบบผิวหนังให้แข็งแรงได้ด้วยวิธีต่อไปนี้
- ทำความสะอาดผิวอย่างเหมาะสม ล้างหน้าด้วยคลีนเซอร์ที่อ่อนโยน เช้า-เย็น เพื่อลดการอุดตันของรูขุมขน หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่มีสารชะล้างรุนแรง (เช่น SLS) ซึ่งอาจทำให้ผิวแห้งและระคายเคือง ล้างหน้าด้วยน้ำอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงน้ำที่ร้อนเกินไป เพราะจะทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้น
- ใช้ครีมกันแดดทุกวัน ทาครีมกันแดด SPF 30-50 ขึ้นไปเป็นประจำ แม้อยู่ในที่ร่ม ทาซ้ำทุก 2-3 ชั่วโมงเมื่อออกแดดเป็นเวลานาน เลือกครีมกันแดดที่ปกป้องได้ทั้ง UVA และ UVB
- บำรุงผิวให้ชุ่มชื้น ใช้มอยส์เจอไรเซอร์ที่เหมาะกับสภาพผิว เพื่อป้องกันผิวแห้งและช่วยเสริมเกราะป้องกันผิว หากมีปัญหาผิวแห้งมาก ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มี ไฮยาลูรอนิกแอซิด (Hyaluronic Acid) และเซราไมด์ (Ceramide) ใช้สกินแคร์ที่ช่วยเสริมเกราะป้องกันผิว เช่น PHYTO Serum Treatment หรือ Chanel Injection
- รับประทานอาหารที่ดีต่อผิว กินอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน ลดอาหารที่มีน้ำตาลและของทอด เพราะอาจทำให้เกิดสิวและเร่งการเสื่อมสภาพของผิว ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน เพื่อให้ผิวชุ่มชื้นจากภายใน
- นอนหลับให้เพียงพอ พักผ่อนอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง เพื่อลดความเครียดและช่วยให้ผิวฟื้นฟูตัวเอง หลีกเลี่ยงการนอนดึก เพราะอาจทำให้ผิวหมองคล้ำและเกิดริ้วรอยได้เร็วขึ้น
- ออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกายช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น ทำให้ผิวได้รับออกซิเจนและสารอาหารมากขึ้น เหงื่อที่ออกมาระหว่างออกกำลังกายช่วยขับสารพิษออกจากผิว
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำร้ายผิว หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป เพราะจะทำให้ผิวแห้งและแก่ก่อนวัย หลีกเลี่ยงการแกะสิว หรือขัดถูผิวแรง ๆ เพราะอาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นและระคายเคือง
- หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีรุนแรง เช่น แอลกอฮอล์หรือพาราเบน
วิธีดูแลระบบผิวหนังให้แข็งแรง ด้วยหัตถการทางการแพทย์
นอกจากการดูแลผิวด้วยตัวเองแล้ว การทำหัตถการทางการแพทย์ ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยฟื้นฟูและเสริมความแข็งแรงให้กับระบบผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้น ผิวเริ่มสูญเสียคอลลาเจนและความยืดหยุ่น ซึ่งสามารถดูแลได้ด้วยเทคนิคต่าง ๆ ดังนี้
1. Skin Booster เพื่อเติมความชุ่มชื้นและเสริมเกราะป้องกันผิว
Skin Booster เป็นหัตถการที่ช่วยฟื้นฟูผิวจากภายในโดยการฉีดสารบำรุงเข้าสู่ชั้นผิวโดยตรง ซึ่งช่วยให้ผิวชุ่มชื้น อิ่มฟู และแข็งแรงขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการผิวสุขภาพดี ฉ่ำวาว และป้องกันปัญหาผิวแห้งเสีย เช่น
- E-X-O The Phyto Serum จุดเด่น ฟื้นฟูผิวให้แข็งแรง เสริมเกราะป้องกันผิว และลดอาการแพ้ง่าย เหมาะสำหรับ ผิวอ่อนแอ ผิวแพ้ง่าย ผิวที่ต้องการบำรุงให้แข็งแรง
- Chanels Injection จุดเด่น เติมวิตามินและไฮยาลูรอนิกแอซิดให้ผิวชุ่มชื้น ฉ่ำวาว เปล่งประกาย เหมาะสำหรับ ผิวแห้ง หมองคล้ำ ต้องการผิวอิ่มน้ำแบบ Glass Skin
2. Biostimulator การกระตุ้นคอลลาเจน
Biostimulator เป็นการฉีดสารที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้าง คอลลาเจนและอีลาสติน ตามธรรมชาติ ซึ่งแตกต่างจากฟิลเลอร์ที่เน้นการเติมเต็มโดยตรง Biostimulator จะช่วยให้ผิวฟื้นฟูตัวเองจากภายใน ทำให้ ริ้วรอยลดลง ผิวแน่นขึ้น และยกกระชับอย่างเป็นธรรมชาติ
- Juvelook จุดเด่น กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ลดริ้วรอยและรูขุมขนกว้าง ผิวดูละเอียดขึ้น เหมาะสำหรับ ผิวหย่อนคล้อย มีริ้วรอย ผิวขาดความกระชับ
- Rejuran (PDRN Therapy) จุดเด่น ฟื้นฟูเซลล์ผิวจากภายใน ช่วยลดการอักเสบ เสริมสร้างคอลลาเจนและความแข็งแรงของผิว เหมาะสำหรับ ผิวอ่อนแอ ขาดน้ำ ต้องการฟื้นฟูและกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่
3. โบท็อกซ์ (Botox) เพื่อป้องกันและลดเลือนริ้วรอย
Body – โบท็อกซ์ (Botox) เป็นหัตถการที่ช่วยลดเลือนริ้วรอยและป้องกันการเกิดริ้วรอยใหม่โดยการคลายกล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีด ซึ่งช่วยให้ผิวเรียบเนียนและดูอ่อนเยาว์ขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มมีริ้วรอยจากการแสดงอารมณ์ เช่น รอยย่นหน้าผาก รอยตีนกา หรือรอยขมวดคิ้ว นอกจากนี้ยังสามารถใช้โบท็อกซ์เพื่อป้องกันการเกิดริ้วรอยก่อนวัยสำหรับผู้ที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป โดยช่วยลดการขยับของกล้ามเนื้อที่เป็นสาเหตุของริ้วรอย ทำให้ริ้วรอยไม่ลึกขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
โบท็อกซ์เริ่มเห็นผลภายใน 3-7 วัน และให้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนภายใน 2 สัปดาห์ โดยสามารถคงอยู่ได้นานประมาณ 4-6 เดือน หลังฉีดควรหลีกเลี่ยงการนวดหน้าและความร้อนสูง เช่น ซาวน่าหรือออกกำลังกายหนักในช่วง 24 ชั่วโมงแรก เพื่อให้สารโบท็อกซ์ทำงานได้อย่างเต็มที่ การเลือกใช้โบท็อกซ์ที่มีคุณภาพ เช่น Allergan (USA) หรือ Nabota (Korea) รวมถึงฉีดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยให้ผลลัพธ์ดูเป็นธรรมชาติและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
4. ฟิลเลอร์(Filler) เพื่อปรับโครงสร้างผิวและเติมเต็มใบหน้า
ฟิลเลอร์ (Hyaluronic Acid – HA Filler) เป็นสารเติมเต็มที่ใช้ฉีดเข้าไปใต้ผิวหนังเพื่อช่วย เติมเต็มบริเวณที่มีการยุบตัวหรือขาดวอลลุ่ม เช่น ร่องแก้ม ใต้ตา ขมับ และคาง รวมถึงช่วย ปรับโครงสร้างใบหน้าให้ดูสมดุลและได้รูปขึ้น ฟิลเลอร์ยังช่วยให้ผิวดูอิ่มน้ำ เรียบเนียน และลดเลือนริ้วรอยได้อย่างเป็นธรรมชาติ ฟิลเลอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็น ไฮยาลูรอนิกแอซิด Hyaluronic Acid (HA) ซึ่งสามารถสลายได้เองตามธรรมชาติและปลอดภัยเมื่อฉีดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นอกจากการเติมเต็ม ฟิลเลอร์ยังช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิว ช่วยให้ผิวดูสุขภาพดีและอ่อนเยาว์ขึ้น
5. เครื่องยกกระชับผิว ลดความหย่อนคล้อย
Body – เครื่องยกกระชับผิว เป็นเทคโนโลยีที่ช่วย ลดความหย่อนคล้อยของผิว และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิว ทำให้ใบหน้าดูเรียวกระชับขึ้นโดยไม่ต้องศัลยกรรม เครื่องเหล่านี้ทำงานโดยใช้พลังงานความร้อน เช่น คลื่นเสียงอัลตราซาวด์ (Hifu) และ คลื่นวิทยุ (RF) เพื่อกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินในชั้นผิว ทำให้ผิวแน่นขึ้น ลดริ้วรอย และช่วยให้กรอบหน้าชัดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ การใช้เครื่องยกกระชับผิวเหมาะสำหรับผู้ที่มี ปัญหาผิวหย่อนคล้อย ริ้วรอยก่อนวัย หรือใบหน้าดูไม่กระชับ
ปกป้อง ฟื้นฟูผิว เติมความชุ่มชื่นได้ที่ ลีเอนจาง คลินิก
ที่ Lienjang Clinic คุณสามารถ ปกป้อง ฟื้นฟู และเติมความชุ่มชื้นให้กับผิว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย โปรแกรมดูแลผิวระดับพรีเมียม ที่ออกแบบมาเพื่อฟื้นฟูความแข็งแรงของชั้นผิว ซึ่งช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน เติมเต็มความชุ่มชื้น และเสริมเกราะป้องกันผิวจากมลภาวะ นอกจากนี้ยังมีหัตถการเพื่อ ลดเลือนริ้วรอยและกระชับผิว ที่ทำให้ผิวดูเรียบเนียน กระจ่างใส และอ่อนเยาว์ยิ่งขึ้น
ที่นี่ให้บริการโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมผลิตภัณฑ์มาตรฐานระดับสากล เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่าผิวของคุณจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด สำหรับท่านใดที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพผิวหรือต้องการคำแนะนำเฉพาะบุคคล ทีมแพทย์ ลีเอนจาง คลินิก ยินดีให้คำปรึกษาและคำแนะนำที่เหมาะสม หรือสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line Official Account : @Lienjangthailand
สรุป ระบบผิวหนังสำคัญยังไง ?
ระบบผิวหนัง เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกาย เนื่องจากทำหน้าที่หลักในการ ปกป้องร่างกาย จากอันตรายต่างๆ เช่น แบคทีเรีย เชื้อไวรัส ความร้อน และรังสี UV จากแสงแดด ผิวหนังยังช่วย ควบคุมอุณหภูมิ ของร่างกายและ สัมผัสรับความรู้สึก ต่างๆ เช่น ความร้อน ความเย็น และความเจ็บปวด รวมถึงการ ขับของเสีย ออกจากร่างกายผ่านเหงื่อ
นอกจากนี้ผิวหนังยังมีบทบาทในการ เสริมสร้างความงามและความมั่นใจ โดยการรักษาความสมดุลของน้ำและสารอาหารต่างๆ เช่น การคงความชุ่มชื้นของผิวและการสร้างคอลลาเจน ซึ่งส่งผลต่อการ มีผิวพรรณที่สุขภาพดี และช่วยในการป้องกันการเสื่อมสภาพของร่างกายตามวัย การดูแลระบบผิวหนังจึงเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาสุขภาพและความงามของร่างกาย